Wednesday, April 2, 2014

AEC กับคุณสมบัติสถาปนิกไทย

 พอดีในปีหน้านี้ก็ปี 58 แล้ว..สถาปนิกไทยบางคนยังเล่นคุกกี้รันอยู่อย่างเมามัน
เลยเอาบทความเกี่ยวกับคุณสมบัติสถาปนิกไทยที่จะไปโกอินเตอร์มาให้อ่านดู




สถาปนิก จากข้อมูลล่าสุดของสภาสถาปนิก มีดังนี้
กฎหมายรองรับรัดกุม เพราะมีสภาสถาปนิกอาเซียนคอยรองรับ และกำหนดคุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพสถาปนิกข้ามชาติแล้ว ข้อกำหนดที่ชัดเจนของสถาปนิกข้ามชาติ หลังการเปิด AEC นั้น ถูกกำหนดว่า ต้องมีคุณสมบัติหลายประการ ได้แก่
1) จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์หลักสูตร 5 ปี
2) มีใบอนุญาตเป็นสถาปนิก
3) มีประสบการณ์อย่างน้อย 10 ปีนับแต่จบการศึกษา
4) เมื่อจบแล้วต้องทำงานโดยมีใบอนุญาตอย่างน้อย 5 ปี
5) มีการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง (CDP)
6) ทำงานรับผิดชอบสถาปัตยกรรมสำคัญอย่างน้อย 2 ปี
7) ไม่เคยทำผิดมาตรฐานหรือจรรยาบรรณวิชาชีพ
8) ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสภาสถาปนิกอาเซียน

เมื่อปี 2555 ไทยมีสถาปนิก 17,000 คน แบ่งตามใบอนุญาต 3 แบบ คือแบบสามัญ 1,857 คน แบบภาคี 14,159 คน และแบบวุฒิ 560 คน ขณะที่ต่างประเทศมีใบประกอบวิชาชีพเพียงแบบเดียว คือแบบสามัญ หากไทยต้องรวบเหลือใบเดียว เท่ากับว่าไทยจะเหลือสถาปนิกเพียง 1,857 คน
สำหรับการเตรียมความพร้อมของสาขาวิชาชีพ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศสมาชิกอาเซียน ตามข้อตกลงใน MRA มีดังต่อไปนี้
1. จัดทำกรอบการทำงานร่วมกันของสถาปนิกไทยกับสถาปนิกอาเซียน ภายใต้ข้อตกลงของสภาสถาปนิกอาเซียน ว่าด้วยการทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงร่วมกันภายใต้กรอบใหญ่ของ International Union of Architects: UIA ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “การปฏิบัติงานในประเทศอื่นต้องมีการร่วมมือกับเจ้าของประเทศนั้น”
2. ดำเนินการจัดให้มีระบบการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า CPD (Continuing Professional Development) โดยความสมัครใจ สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็น “สถาปนิกอาเซียน”
3. แก้ไขกฎกระทรวงเพื่อให้เกิดการจ้างงานของคนต่างด้าวตามพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้สถาปนิกต่างชาติสามารถเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้ภายใต้เงื่อนไขของ MRA
ดังนั้น เป็นที่รับทราบแล้วว่า สาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะมีการเปิดเสรีในอาเซียนปี 2558 เราจะมีพันธมิตรและคู่แข่งในสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรม อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จึงเป็นโอกาสที่นักวิชาชีพของอาเซียนสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะได้พันธมิตร วิชาชีพเดียวกันในภูมิภาค ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี รวมถึงการร่วมทุน ขณะเดียวกันทุกสาขาวิชาชีพที่ถูกกำหนดต้องปรับตัวพัฒนาวิชาชีพเชี่ยวชาญ เพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาอาเซียน รวมถึงการเข้าใจเรื่องสังคมและคนอาเซียน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้และใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ อย่างสูงสุด สุดท้ายแล้วประชาชนทุกคนคือผู้บริโภค จะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นความหวังที่น่าท้าทายและเป็นจริงได้มาก ที่สุด

ที่มา
http://www.thai-aec.com/840