Monday, September 29, 2014

อาคาร Curtain Wall สุดแนว Paramatta Tower


Parramatta tower by Urban office in Australia
Project name: Parramatta tower
Architect : Urban office
Location :Australia
the concept design for the office towers 5 & 6 is expressed via both a vertical torque and outward projection towards the public mall.

เส้นสายของเฟรมทำให้อาคารนี้ดูบิด และแนวมาก

















Tuesday, June 3, 2014

ภาพเรนเดอร์เทียบกับงานจริง

ไม่แน่ใจว่าเจ้าของโครงการเขาอยากได้แบบนี้
รึช่างเขาทำผิดแบบตรงไหน...มันถึงได้ต่างกันนิดหน่อย
แบบนี้...




เพื่อนส่งมาให้ดู ขำๆ :D

Friday, May 30, 2014

ศิลปะแห่งการตัดโมเดลอาคาร

นอกจากการเขียนแบบด้วย CAD 
การวาดรูปด้วยมือ
การตัดโมเดลอาคารก็ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สถาปนิกไทย ต้องเป็น
 ไม่ว่าจะเป็นโมเดลกระดาษ
โมเดลไม้ หรือโมเดลพลาสติก
ยิ่งละเอียดๆ เวลาคนมาเห็นจะรู้สึกว่า
เทพจริงๆ


มีตัวอย่างจากเน็ตมาให้ดู














แต่เมื่องาน ASA 57 ที่ผ่านมา เดินผ่านบู๊ท ที่เป็น 3D ปรินติ้ง 
ซึ่งเขาสามารถปรินอาคารที่เราออกแบบจากคอมพิวเตอร์ได้เลย
ความละเอียดอาจไม่เทพเท่ารูปที่โชว์ๆข้างบน
แต่ในอนาคต...ก็ไม่แน่ สถาปนิกอาจหมดทางทำมาหากินไปอีก 1 งาน
...ก็เป็นได้

Monday, May 12, 2014

เก็บตกจากต่างแดน

         อาคารสมัยใหม่ที่ได้รับการออกแบบให้ดู
แปลกและทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอก
ที่ดูโดดเด่น อย่างตึกนี้เป็นห้องสมุดของมหาลัยแห่งหนึ่งในเมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย ออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของยุคนี้ Zaha Hadid อาคารนี้ เป็น Library and Leaning Center  ผมโชคดีที่ได้มีโอกาสไปเที่ยวเวียนนาและแวะไปที่มหาลัยแห่งนี้


           นอกจากอาคารนี้ ยังมีอีกหลายอาคารที่ออกแบบอย่างสวยงามในมหาลัยแห่งนี้


       อาคารส่วนใหญ่จะไม่มีกันสาดเพื่อบังแดดแบบประเทศเรา เพราะเป็นเมืองหนาวต้องการแสงแดดและลดช่องเปิดก็กันอากาศหนาวที่จะเข้ามาในอาคาร
 

       อาคารนี้สีสันสดใส ตกแต่งด้วยระแนงไม้ การใช้สี เน้นที่สีส้มและเหลือง ดูแล้วให้ความรู้สึกสนุก


         อาคารที่ดูเรียบๆแต่แอบแฝงลูกเล่นไว้ตรงทางเข้า ทำให้อาคารไม่ดูเรียบและน่าเบื่อจนเกินไป





          เพื่อนสถาปนิกท่านไหนมีโอกาสไปเวียนนา ลองแวะไปเดินเล่นที่มหาลัยนี้ดูครับ รับรองว่าน่าจะชอบและได้ไอเดียใหม่ๆให้กับตัวเองแน่นอนครับ

Wednesday, April 2, 2014

AEC กับคุณสมบัติสถาปนิกไทย

 พอดีในปีหน้านี้ก็ปี 58 แล้ว..สถาปนิกไทยบางคนยังเล่นคุกกี้รันอยู่อย่างเมามัน
เลยเอาบทความเกี่ยวกับคุณสมบัติสถาปนิกไทยที่จะไปโกอินเตอร์มาให้อ่านดู




สถาปนิก จากข้อมูลล่าสุดของสภาสถาปนิก มีดังนี้
กฎหมายรองรับรัดกุม เพราะมีสภาสถาปนิกอาเซียนคอยรองรับ และกำหนดคุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพสถาปนิกข้ามชาติแล้ว ข้อกำหนดที่ชัดเจนของสถาปนิกข้ามชาติ หลังการเปิด AEC นั้น ถูกกำหนดว่า ต้องมีคุณสมบัติหลายประการ ได้แก่
1) จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์หลักสูตร 5 ปี
2) มีใบอนุญาตเป็นสถาปนิก
3) มีประสบการณ์อย่างน้อย 10 ปีนับแต่จบการศึกษา
4) เมื่อจบแล้วต้องทำงานโดยมีใบอนุญาตอย่างน้อย 5 ปี
5) มีการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง (CDP)
6) ทำงานรับผิดชอบสถาปัตยกรรมสำคัญอย่างน้อย 2 ปี
7) ไม่เคยทำผิดมาตรฐานหรือจรรยาบรรณวิชาชีพ
8) ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสภาสถาปนิกอาเซียน

เมื่อปี 2555 ไทยมีสถาปนิก 17,000 คน แบ่งตามใบอนุญาต 3 แบบ คือแบบสามัญ 1,857 คน แบบภาคี 14,159 คน และแบบวุฒิ 560 คน ขณะที่ต่างประเทศมีใบประกอบวิชาชีพเพียงแบบเดียว คือแบบสามัญ หากไทยต้องรวบเหลือใบเดียว เท่ากับว่าไทยจะเหลือสถาปนิกเพียง 1,857 คน
สำหรับการเตรียมความพร้อมของสาขาวิชาชีพ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศสมาชิกอาเซียน ตามข้อตกลงใน MRA มีดังต่อไปนี้
1. จัดทำกรอบการทำงานร่วมกันของสถาปนิกไทยกับสถาปนิกอาเซียน ภายใต้ข้อตกลงของสภาสถาปนิกอาเซียน ว่าด้วยการทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงร่วมกันภายใต้กรอบใหญ่ของ International Union of Architects: UIA ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “การปฏิบัติงานในประเทศอื่นต้องมีการร่วมมือกับเจ้าของประเทศนั้น”
2. ดำเนินการจัดให้มีระบบการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า CPD (Continuing Professional Development) โดยความสมัครใจ สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็น “สถาปนิกอาเซียน”
3. แก้ไขกฎกระทรวงเพื่อให้เกิดการจ้างงานของคนต่างด้าวตามพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้สถาปนิกต่างชาติสามารถเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้ภายใต้เงื่อนไขของ MRA
ดังนั้น เป็นที่รับทราบแล้วว่า สาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะมีการเปิดเสรีในอาเซียนปี 2558 เราจะมีพันธมิตรและคู่แข่งในสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรม อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จึงเป็นโอกาสที่นักวิชาชีพของอาเซียนสาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะได้พันธมิตร วิชาชีพเดียวกันในภูมิภาค ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี รวมถึงการร่วมทุน ขณะเดียวกันทุกสาขาวิชาชีพที่ถูกกำหนดต้องปรับตัวพัฒนาวิชาชีพเชี่ยวชาญ เพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาอาเซียน รวมถึงการเข้าใจเรื่องสังคมและคนอาเซียน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้และใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ อย่างสูงสุด สุดท้ายแล้วประชาชนทุกคนคือผู้บริโภค จะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นความหวังที่น่าท้าทายและเป็นจริงได้มาก ที่สุด

ที่มา
http://www.thai-aec.com/840

Monday, March 17, 2014

ถ้าไม่มีสถาปนิก จะเกิดอะไรขึ้น???


            สถาปนิกน่าจะเป็นอีกวิชาชีพนึงที่คนไม่ค่อยรู้จักในสมัยก่อน ไม่รู้ว่าคืออะไร ทำไมต้องมีสถาปนิก  ส่วนใหญ่แค่คิดว่ามีผู้รับเหมาก็สร้างบ้าน สร้างตึกได้แล้ว 
             จริงๆความคิดแบบนั้นก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ แต่ก็อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะถ้าเราอยากได้บ้านสวย ตึกสวย ตรงฟังก์ชั่นการใช้งาน และเหมาะกับสภาพแวดล้อม คงต้องให้สถาปนิกออกแบบให้ ไม่งั้นเราก็คงได้แต่อาคารหรือตึกที่เป็นกล่องๆ หรือแบบซ้ำๆเดิม ทุกที่ไป  
             โชคดีได้มีโอกาสไปดูงานที่สิงคโปร์ เลยได้เห็นรูปแบบอาคารที่แปลก เลยเก็บรูปสวยๆมาฝากให้ดูครับ

อาคารแนวๆ เขตตัวเมืองครับ




พิพิธภัณฑ์ที่ Marina Bay

 สะพานนี้ตอนกลางคืนไฟสวยดี แต่ไม่ได้อยู่ถ่ายครับ

 Marina Bay Sand ด้สนบนมีสระว่ายน้ำด้วยนะครับ มีโอกาสจะไปลองว่ายดู



 มุมกว้างๆ ตอนเย็นๆริมอ่าว

                ดูกันพอหอมปากหอมคอนะครับ อยากให้มีโอกาสได้ไปเห็นกับตาเองทุกคน  ผลงานที่สถาปนิกสร้างสรรค์ ทั้งสวยและแปลกใหม่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกครับ ถ้ามีโอกาสจะเอามาให้ดูอีกครับ ^^

ปล. โลกนี้ยังคงต้องมีสถาปนิกต่อไปนะครับ อิอิ



Tuesday, March 11, 2014

สถาปนิกไทย...คืออัลไลยอ่ะ

เมื่อก่อนสถาปนิกอาจเป็นอาชีพที่หลายคนไม่รู้จัก 
ซึ่งบางคนอาจคิดว่าเป็นช่างก่อสร้าง..รึเปล่า
บางคนอาจคิดว่า.. น่าจะเป็นพวกวาดรูป
แต่แท้จริงแล้วสมัยนี้อาชีพสถาปนิกก็เป็นที่แพร่หลาย
อาจเป็นเพราะหนังหรือละครบางเรื่องที่พระเอกรึนางเอกต้องเป็นสถาปนิก
อาทิเช่น Il Mare หนังอีโรติคนิดๆ+อาร์ตหน่อยๆ ที่ดูๆ เนี่ยะเพราะนางเอกทั้งนั้น
(อันนี้อาจจะเก่าไปเกิดไม่ทัน)

หรือ My Architect: A Son's Journey อันนี้หนังดีมาก
แต่ไม่ได้เข้าโรงฉายในไทยหรอกนะ เพราะหนังไม่ได้เป็นแบบเกิดมาเพื่อทำเงินไป
หาโหลดบิทดูเอาเอง

หากจะพูดถึงหนังทำเงินหน่อยก็น่าจะเป็น Matrix : Reloaded 
อันนี้อาจงง ว่ามีสถาปนิกไปสู่โลก Matrix ตรงไหน คนที่สู้รึก็ไม่ใช่
นีโอก็ไม่ใช่ 


คนแก่ๆที่นั่งอยู่ในรูปน่ะ ...หือ ไม่เห็นแนวเลยไม่อยากสปอยว่าเขาเมพแค่ไหน


และสถาปนิกไทยเป็นยังไง
.....
หากเราเดินผ่านคณะสถาปัตย์ของมหาลัยในเมือง (เน้นว่าในเมือง)
สิ่งที่เราจะสังเกตุว่าเขาเป็นสถาปนิกหรือไม่คือ...


กระบอกใหญ่ๆ ...เมื่อก่อนอาจจะใช่แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ครับเพราะงานอยู่บนคอม
จะปริ้นเมื่อส่งงานเท่านั้น


หัวฟูๆ แต่งตัวแนวๆ อันนี้ก็อาจจะไม่ใช่ เพราะผมว่าสถาปนิกเนี่ยะบางคนเขาก็เนียบนะ
ปากกาลามะ Lamy อันนี้ให้มั่นใจสัก 60 % ได้ว่าเขาทำสายออกแบบ
(อยากจะรู้เหมือนกันว่าทำไมต้อง Lamy..พอดีสถาปนิกบ้านนอกอย่างผมไม่มี)

 หากจะพูดถึงละคนไทยที่ยังฉายๆ อยู่ตอนนี้
นี่หรือสถาปนิกไทย...นี่หรือเมืองพุทธ 
แต่อย่าคิดมาละครไทยหลายเรื่องจุดขายคือความตลกนี่นะ

 และที่สำคัญสถาปนิกที่เรียนๆๆๆกันมาหลายๆปีเนี่ยะ ส่วนใหญ่จะกลายพันธุ์
ไปเป็นดาราบ้าง ไปทำรายการทีวี
บ้างก็ไปมีธุระกิจขายหมูกะทะ (อันนี้เพื่อนนนโผมม)

และทำไมเราถึงไม่เห็นบริษัทสถาปนิกมาโฆษณาตามทีวีบ้าง
(นอกจากบริษัทรับสร้างบ้านที่มีทุนจดทะเบียนหลายล้าน)
ก็เพราะว่า

จรรยาบรรณวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ.2545 ข้อที่ 11 ที่ระบุว่า " ห้ามสถาปนิกโฆษณา 
ใช้ หรือจ้างวาน ให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใดๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม"

 และเราจะหาสถาปนิกได้จากไหน??
อันนี้ว่างๆจะมาเขียนต่ออีกที